Home หลักสูตรการศึกษา หลักสูตร ปรัชญาบัณฑิต สาขาวิชาทางสังคมศาสตร์

หลักสูตร ปรัชญาบัณฑิต สาขาวิชาทางสังคมศาสตร์

by bodhisastra

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา               Bodhisastra University  Florida USA.

วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา          –

 

  1. ชื่อหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร (ภาษาอังกฤษ)   Bachelor of Philosophy Program  in Social Science

 

  1. ชื่อปริญญาและสาขา

ชื่อเต็ม               (ภาษาอังกฤษ)   Bachelor of Philosophy in Social Science

ชื่อย่อ                (ภาษาอังกฤษ)   : B.Phil. (Social Science)

 

  1. สาขาวิชา

3.1 สาขาวิชา การเปลี่ยนแปลงสังคม (Social Change)

3.2 สาขาวิชา การประกอบการเพื่อสังคม  (Social Enterprise)

3.3 สาขาวิชา การพัฒนาสังคม  (Social Development)

3.4 สาขาวิชา การศึกษาเพื่อสังคม (Social Education)

3.5 สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์ (Public Administration)

3.6 สาขาวิชา การสื่อสารเพื่อสังคม  (Social Communication)

3.7 สาขาวิชา การบริหารธุรกิจ (Business Administration)

3.8 สาขาวิชา เศรษฐศาสตร์เพื่อสังคม (Social Economic)

3.9 สาขาวิชา การจัดการศึกษาตลอดชีวิต (Long-Life Education)

3.10 สาขาวิชา การจัดการงานบริบาลชุมชน Community Care)

3.11 สาขาวิชา สาธารณสุขชุมชน  (Public Health)

3.12 สาขาวิชา การแพทย์พื้นบ้านและการแทพย์องค์รวม  (Folk Medicine & Holistic Medicine)

3.13 สาขาวิชา กฎหมายและความยุติธรรมทางสังคม  (Law & Social Justice)

3.14 สาขาวิชา ภาษาอังกฤษ  (English)

3.15 สาขาวิชา สันติภาพศึกษา  (Peace Studies)

นักศึกษาจะเลือกสาขาวิชาใด ให้ลงทะเบียนในกลุ่มวิชาฝึกปฏิบัติในด้านนั้น จำนวน 24 หน่วยกิต เช่น การลงทะเบียนเรียนในสาขา การประกอบการสังคม ต้องฝึกปฏิบัติในด้านการประกอบการสังคม หากเลือกสาขาการบริหารธุรกิจ ต้องฝึกปฏิบัติด้านการบริหารธุรกิจ เป็นต้น

  1. จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 120   หน่วยกิต
  2. ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

5.1 ปรัชญา    

หลักสูตรปรัชญาบัณฑิต สาขาวิชาทางสังคมศาสตร์ มีเจตจำนงที่จะเสริมสร้างศักยภาพบุคคลมีความสามารถในการประกอบการ เป็นผู้มีจิตอาสาให้กับชุมชนและสังคม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อชุมชนท้องถิ่นของตนเองและความสำนึกในฐานะที่เป็นพลเมืองโลก ความเข้าใจในชุมชนท้องถิ่น สามารถเข้าใจชุมชนอย่างบูรณาการ คือ คำนึงถึงทั้งด้านกายภาพ การพึ่งพาตนเอง การมีวิถีชีวิตการอยู่ร่วมกันทางสังคม ร่วมกันรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม  และการเรียนรู้ทักษะการเป็นผู้ประกอบการด้วยการลงมือปฏิบัติ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับเครือข่ายผู้นำในชุมชนต่างๆ

หลักสูตรปรัชญาบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ เป็นหลักสูตรที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียน สามารถจะขอรับปริญญาทางสังคมศาสตร์ ในสาขาใดก็ได้ เช่น รัฐประศาสนศาสตร์ การบริหารธุรกิจ การประกอบการสังคม การประกอบการ ศึกษาศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งเป็นไปตามโครงงานปฏิบัติการด้านใด หรือเชี่ยวชาญด้านใด มีผลงานความสำเร็จด้านใด ยกเว้นด้านศาสนา  จะมีรายวิชาเฉพาะที่แตกต่างออกไป

5.2 ความสำคัญ

5.2.1พัฒนาบุคคลให้มีความสามารถวิเคราะห์ชุมชนอย่างเป็นองค์รวม เพื่อให้เกิดความรอบรู้ที่รอบด้านในการจัดการกับปัญหาของชุมชนและการริเริ่มใหม่ๆ ในการเป็นผู้ประกอบการสังคม

5.2.2 ให้ความสำคัญผู้นำทางสังคม ในฐานะที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของชุมชน  เพื่อให้สามารถมีสัมมาชีพเพื่อการพึ่งตนเอง สร้างการมีรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว และการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

5.2.3 การศึกษาที่เน้นการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง และปฏิบัติการจริงในชุมชน เสริมสร้างทักษะและจิตวิญญาณแห่งผู้ประกอบการสังคม

5.2.4 มุ่งจัดการศึกษาสำหรับการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาชุมชน สำหรับแกนนำและอาสาสมัครของชุมชน

5.3 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร    

5.3.1 เป็นผู้มีความรู้และทัศนคติที่ดีต่อการดำเนินชีวิตตามหลักจริยธรรมของสังคม มีจิตอาสารับใช้สังคมและชุมชนท้องถิ่น

5.3.2  มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์ชุมชนท้องถิ่น สังคม และระบบโลกาภิวัตน์  มีความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสภาวะวิกฤติโลก รวมทั้งการเสริมสร้างพลังของชุมชนในการปกป้องดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนและของท้องถิ่น

5.3.3 มีความสามารถในการรวบรวมและบริหารทรัพยากรของชุมชนและสังคม  การริเริ่ม สร้างสรรค์กิจกรรมต่าง  เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม เพื่อให้เกิดทั้งคุณค่าและมูลค่าต่อชุมชนท้องถิ่น

5.3.4 ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม มีทักษะการสื่อสาร การใช้ภาษาและเทคโนโลยีได้อย่างทันสมัย

  1. ระบบการจัดการศึกษา

6.1  ระบบการเรียน

6.1.1 หลักสูตรใช้เวลา  4 ปี หรือ 8 ภาคการศึกษาปกติ

6.1.2 ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษา     แบ่งออกเป็น 2 ภาคเรียน

6.2  การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค

1 หน่วยกิต เท่ากับ 1 ชั่วโมงบรรยายต่อสัปดาห์หรือ 15 ชั่วโมงต่อ 1 ภาคเรียน

 

  1. การดำเนินการหลักสูตร

7.1 วัน – เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน

          ช่วงเวลาการจัดการเรียนการสอนแต่ละภาค ดังนี้

ภาคการศึกษาที่ 1         เดือนกุมภาพันธ์ – มิถุนายน

ภาคการศึกษาที่ 2         เดือนกรกฎาคม – พฤศจิกายน

7.2  การเปิดโอกาสให้ผู้เข้าศึกษา

ทั้งแบบศึกษาปกติ  แบบศึกษาภาคพิเศษ  และการเรียนรู้ด้วยตนเอง Self Learning

7.3  คุณสมบัติทั่วไปของผู้เข้าศึกษา

7.3.1 สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สายสามัญหรือสายอาชีพ หรือเทียบเท่า ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรือ

7.3.2 ไม่ได้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แต่เป็นผู้ประกอบการสังคมที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์นับถึงวันเปิดภาคการศึกษาแรก ต้องมีใบรับรองความรู้เทียบเท่ามัธยมศึกษาตอนปลายของมหาวิทยาลัยโพธิศาสตร์

7.4 รูปแบบการจัดการศึกษา

1) จัดการศึกษาแบบชั้นเรียน

2) จัดศึกษาทางไกลในระบบ BOU E- Learning  and BOUTV

3) การศึกษาวิจัย และการวิจักษณ์ Research Program and Realize Program

4) การเรียนทางไกลผ่านวิดีโอ Online Learning by Facebook live, Line live, Youtube live

5) การศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง Self and  Independent Study

6) การศึกษากรณีเฉพาะ Project – Base Learning

 

7.5  การเทียบโอนหน่วยกิต

การเทียบโอนผลการเรียนจากสถาบันอื่น การเทียบโอนผลการศึกษาของผู้ศึกษาในระบบการศึกษาหรือนอกระบบการศึกษา การเทียบงานหรือการเทียบประสบการณ์ของผู้ศึกษานอกระบบการศึกษาหรือผู้ศึกษาตามอัธยาศัย หรือเป็นผู้ที่มีผลงานการประกอบการสังคม เป็นที่ประจักษ์ชัด สามารถเทียบโอนในแต่ละรายวิชาได้ โดยให้เรียนไม่น้อยกว่า 21 หน่วยกิต และต้องเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย ไม่น้อยกว่า 1 ภาคเรียน

 

  1. 8. หลักสูตร

8.1  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 120   หน่วยกิต

8.2 โครงสร้างหลักสูตร

1)  กลุ่มวิชาศึกษาทั่วไป                                                                      30 หน่วยกิต

2)  กลุ่มวิชาพื้นฐาน                                                                           21 หน่วยกิต

3)  กลุ่มวิชาเอก                                                                               33 หน่วยกิต

4)  กลุ่มวิชาโท                                                                                12 หน่วยกิต

5)  การฝึกปฏิบัติ                                                                             24 หน่วยกิต                รวมทั้งสิ้น                                                                                   120  หน่วยกิต

 

8.3  รายวิชา       

    1)  กลุ่มวิชาศึกษาทั่วไป           30 หน่วยกิต

  1. ชีวิตกับการเรียนรู้ (BOU11101)           3  หน่วยกิต
  2. อาชีพและคุณภาพชีวิต (BOU11102)                     3  หน่วยกิต
  3. การพัฒนาชุมชนและสังคม (BOU11103)           3  หน่วยกิต
  4. จริยธรรมในการดำเนินชีวิต (BOU11104)           3  หน่วยกิต
  5. จิตอาสาและสำนึกพลเมือง (BOU11105)           3  หน่วยกิต
  6. การใช้ภาษาท้องถิ่น (BOU11106)           3  หน่วยกิต
  7. การใช้ภาษาอังกฤษ 1 (BOU11107)           3  หน่วยกิต
  8. การใช้ภาษาอังกฤษ 2 (BOU11108)           3  หน่วยกิต
  9. การใช้ภาษาอังกฤษ 3 (BOU11109)           3  หน่วยกิต
  10. การใช้คอมพิวเตอร์ (BOU11110)           3  หน่วยกิต

    2)  กลุ่มวิชาพื้นฐาน               21 หน่วยกิต

  1. ประวัติศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงชุมชน (BOU11201)           3  หน่วยกิต
  2. ภาวะผู้นำ (BOU1102)           3  หน่วยกิต
  3. ข้อมูลและสารสนเทศชุมชน (BOU11203)                     3  หน่วยกิต
  4. วัฒนธรรมและประเพณีชุมชน (BOU11204)           3  หน่วยกิต
  5. ทุนทางสังคม (BOU11205)                                                    3  หน่วยกิต
  6. สวัสดิการสังคม (BOU11206)           3  หน่วยกิต
  7. แผนที่ชุมชน (BOU11207)                                                    3  หน่วยกิต

 

    3)  กลุ่มวิชาเอก                    33 หน่วยกิต

  1. สถานการณ์ปัจจุบันของโลก (BOU11301)                     3  หน่วยกิต
  2. การประกอบการเพื่อความสังคม(BOU11302)           3  หน่วยกิต
  3. การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสังคม (BOU11303)           3  หน่วยกิต
  4. สหกรณ์ (BOU11303)           3  หน่วยกิต
  5. วิสาหกิจชุมชน (BOU11305)                                                    3  หน่วยกิต
  6. การตลาดเพื่อสังคม (BOU11306)           3  หน่วยกิต
  7. นวัตกรรม (BOU11307)           3  หน่วยกิต
  8. ความรับผิดชอบต่อสังคม (BOU11308)                               3  หน่วยกิต
  9. การจัดการเชิงกลยุทธ์ (BOU11309)           3  หน่วยกิต
  10. การบัญชีผู้ประกอบการสังคม (BOU11310)           3  หน่วยกิต
  11. การปฏิบัติธรรม ((BOU11311)           3  หน่วยกิต

 

    4)  กลุ่มวิชาโท                     12 หน่วยกิต

  1. การสร้างการมีส่วนร่วมในงานพัฒนา (BOU11401)                     3  หน่วยกิต
  2. การจัดการความรู้ (BOU11402)           3  หน่วยกิต
  3. การจัดการปัญหาและความขัดแย้ง (BOU11403)           3  หน่วยกิต
  4. การผลิตสื่อเพื่อการนำเสนอ (BOU11404)           3  หน่วยกิต

 

    5)  กลุ่มวิชาฝึกปฏิบัติ             24 หน่วยกิต    

  1. การฝึกปฏิบัติ 1 (BOU11501)   (การเขียนและการนำเสนอโครงงาน)         3 หน่วยกิต
  2. การฝึกปฏิบัติ 2 (BOU11502) (การวิเคราะห์สถานการณ์และสิ่งแวดล้อม) 3 หน่วยกิต
  3. การฝึกปฏิบัติ 3 (BOU11503)  (การปฏิบัติการตามแผนงาน 1)              6 หน่วยกิต
  4. การฝึกปฏิบัติ 4 (BOU11504)   (การปฏิบัติการตามแผนงาน 2)              6 หน่วยกิต
  5. การฝึกปฏิบัติ 5 (BOU11505)   (การถอดบทเรียนการทำงาน)                3 หน่วยกิต
  6. การฝึกปฏิบัติ 6 (BOU11506)   (การเขียนรายงานและการนำเสนอ)         3 หน่วยกิต

หมายเหตุ  รายวิชาการฝึกปฏิบัติ ให้เปลี่ยนไปตามสาขาที่นักศึกษาต้องการลงทะเบียนเรียน ต้องการเรียนสาขาใด ให้ฝึกปฏิบัติงานในด้านนั้น (ยกเว้นด้านศาสนา)

การกำหนดรหัสรายวิชา มีความหมายดังนี้

หมายเลขที่ 1 หมายถึง ปริญญา  1=ปริญญาตรี   2=ปริญญาโท   3=ปริญญาเอก

หมายเลขที่ 2 หมายถึง หลักสูตรที่ 1

หมายเลขที่ 3 หมายถึง กลุ่มวิชา

หมายเลขที่ 4-5 หมายถึง ลำดับรายวิชาในกลุ่ม

 

  1. 9. กฎระเบียบหรือหลักเกณฑ์ในการให้ระดับคะแนน (เกรด)

9.1 ระบบค่าคะแนน แบ่งเป็น 8 ระดับ คือ

ระดับคะแนน              ค่าระดับคะแนน

A                           4.0

B+                         3.5

B                           3.0

C+                         2.5

C                           2.0

D+                         1.5

D                           1.0

F                           0

รายวิชาที่เทียบโอนให้ใช้รหัส  CP – Credit From Portfolio

9.2  ระบบไม่มีค่าระดับคะแนน ให้ใช้สัญลักษณ์ดังนี้

สัญลักษณ์                  ความหมายของผลการเรียน

S                           เป็นที่พอใจ (Satisfaction)

U                           ไม่เป็นที่พอใจ (Unsatisfaction)

I                            การวัดผลยังไม่สมบูรณ์ (Incomplete)

P                           การเรียนการสอนยังไม่สิ้นสุด (In Progress)

W                          การถอนรายวิชา (Withdrawn)

9.3 กระบวนการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา

9.3.1 ให้อาจารย์ผู้สอนแสดงตัวอย่างการประเมินผลนักศึกษาเพื่อการทวนสอบทุกรายวิชา

9.3.2 จัดตั้งกรรมการทวนสอบเพื่อสุ่มตรวจสอบการให้คะแนนในรายวิชาหรือรายงานของผู้เรียน

9.3.3 เปรียบเทียบการให้คะแนนข้อสอบแต่ละข้อ ในแต่ละรายวิชาตามเกณฑ์ที่กำหนดเพื่อให้ผู้สอนแต่ละคนมีมาตรฐานการให้คะแนนโดยเฉพาะรายวิชาที่มีผู้สอนมากกว่า 1 คน

9.3.4 จัดทำข้อสอบมาตรฐานสำหรับรายวิชาเดียวกันในกรณีที่มีผู้สอบหลายคน

9.3.5 สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับคำถามในแต่ละข้อสอบจากผู้ใช้บัณฑิตเพื่อปรับมาตรฐานข้อสอบ

9.4  เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร

9.4.1 เรียนและลงทะเบียนครบตามโครงสร้างที่หลักสูตรกำหนดภายในเวลาไม่เกิน 8 ปี

9.4.2 ต้องได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00

9.4.3 ผ่านการฝึกปฏิบัติหรือฝึกประสบการณ์วิชาชีพตามที่กำหนดในหลักสูตร

 

  • ตัวอย่างการจัดแผนการศึกษา

10.1 การลงทะเบียนปกติ ตั้งแต่ปีที่ 1 ถึงปีสุดท้าย

ปีที่ 1  ภาคเรียนที่  1 

  1. ชีวิตกับการเรียนรู้ และการพัฒนาตนเอง                                  3  หน่วยกิต
  2. อาชีพและคุณภาพชีวิต             3  หน่วยกิต
  3. การพัฒนาชุมชนและสังคม                                               3  หน่วยกิต
  4. จริยธรรมในการดำเนินชีวิต                                3  หน่วยกิต
  5. จิตอาสาและสำนึกพลเมือง                                                   3  หน่วยกิต
  6. การใช้ภาษาอังกฤษ 1             3  หน่วยกิต
  7. การฝึกปฏิบัติ 1 (การเขียนและการนำเสนอโครงงาน) 3  หน่วยกิต

 

ปีที่ 1  ภาคเรียนที่  2

  1. การใช้ภาษาท้องถิ่น                                3  หน่วยกิต
  2. การใช้ภาษาอังกฤษ 2                       3  หน่วยกิต
  3. การใช้คอมพิวเตอร์                                   3  หน่วยกิต
  4. การสร้างการมีส่วนร่วมในงานพัฒนา                                   3  หน่วยกิต
  5. การเปลี่ยนแปลงชุมชน             3  หน่วยกิต
  6. การฝึกปฏิบัติ 2 (การวิเคราะห์สถานการณ์และสิ่งแวดล้อม) 3  หน่วยกิต

 

 

 

 

 

ปีที่ 2  ภาคเรียนที่  1

  1. วัฒนธรรมและประเพณีชุมชน                                   3  หน่วยกิต
  2. ทุนทางสังคม                                          3  หน่วยกิต
  3. สวัสดิการสังคม                       3  หน่วยกิต
  4. แผนที่ชุมชน             3  หน่วยกิต
  5. การใช้ภาษาอังกฤษ 3                                          3  หน่วยกิต
  6. การฝึกปฏิบัติ 3 (การปฏิบัติการตามแผนงาน 1)                    6  หน่วยกิต

 

ปีที่ 2  ภาคเรียนที่  2

  1. ข้อมูลและสารสนเทศชุมชน                                       3  หน่วยกิต
  2. สถานการณ์ปัจจุบันของโลก                                          3  หน่วยกิต
  3. ความรู้เกี่ยวกับผู้ประกอบการ                                         3  หน่วยกิต
  4. การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสังคม                       3  หน่วยกิต
  5. สหกรณ์             3  หน่วยกิต
  6. วิสาหกิจชุมชน             3  หน่วยกิต
  7. การฝึกปฏิบัติ 4 (การปฏิบัติการตามแผนงาน 2) 6  หน่วยกิต

ปีที่ 3  ภาคเรียนที่  1

  1. การตลาดเพื่อสังคม                                                   3  หน่วยกิต
  2. นวัตกรรมทางสังคม                                          3  หน่วยกิต
  3. ความรับผิดชอบต่อสังคม                                   3  หน่วยกิต
  4. การจัดการเชิงกลยุทธ์                                                         3  หน่วยกิต
  5. การบัญชีผู้ประกอบการสังคม             3  หน่วยกิต
  6. การฝึกปฏิบัติ 5 (การถอดบทเรียนการทำงาน)           3 หน่วยกิต

ปีที่ 3  ภาคเรียนที่  2

  1. ภาวะผู้นำ 3  หน่วยกิต
  2. การจัดการความรู้ 3  หน่วยกิต
  3. การจัดการปัญหาและความขัดแย้ง 3  หน่วยกิต
  4. การผลิตสื่อเพื่อการนำเสนอ                                3  หน่วยกิต
  5. การฝึกปฏิบัติ 6 (การเขียนรายงานและการนำเสนอ) 3  หน่วยกิต
  6. การปฏิบัติธรรม 3  หน่วยกิต

 

ปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1

ลงทะเบียนในรายวิชาที่ไม่ผ่านในแต่ละภาคเรียน

 

10.2 การลงทะเบียนปกติ ในกลุ่มนักศึกษาเทียบโอน  

นักศึกษาเทียบโอน หมายถึงนักศึกษาที่มีประสบการณ์ ในการทำงาน และประสบความสำเร็จในชีวิตในสาขาที่นักศึกษาเลือกเข้ามาเรียน  มีผลงานเชิงประจักษ์ชัดเจน นักศึกษากลุ่มนี้ สามารถเทียบโอน โดยให้ให้ใช้เวลาไม่น้อยกว่า 1 ภาคเรียน ในรายวิชาที่เทียบโอนนั้น ให้เขียนประสบการณ์ ความประสบการณ์ หรือองค์ความรู้ที่นักศึกษา ไม่น้อยกว่า 1 หน้ากระดาษ

สำหรับการใช้เวลา 1 ภาคเรียน ที่จะเรียน ให้เรียนวิชาในกลุ่มปฏิบัติ จำนวน 27 หน่วยกิต  คือ

  1. การปฏิบัติธรรม 45 ชั่วโมง (นับแบบสะสม ไม่นับหน่วยกิต)
  2. การฝึกปฏิบัติ 1 (BOU11501)                                                    3 หน่วยกิต

(การเขียนและการนำเสนอโครงงาน)

  1. การฝึกปฏิบัติ 2 (BOU11502)                                                   3 หน่วยกิต

(การวิเคราะห์สถานการณ์และสิ่งแวดล้อม)

  1. การฝึกปฏิบัติ 3 (BOU11503)                                                   6 หน่วยกิต

(การปฏิบัติการตามแผนงาน 1)

  1. การฝึกปฏิบัติ 4 (BOU11504)                                                   6 หน่วยกิต

(การปฏิบัติการตามแผนงาน 2)

  1. การฝึกปฏิบัติ 5 (BOU11505)                                                   3 หน่วยกิต

(การวิเคราะห์และประเมินผลโครงงาน)

  1. การนำเสนอผลงาน (BOU11506)                                               3 หน่วยกิต

(การเขียนรายงานและการนำเสนอ)

 

  1. คำอธิบายรายวิชา

    1)  กลุ่มวิชาศึกษาทั่วไป           30 หน่วยกิต

  • ชีวิตกับการเรียนรู้ (BOU11101) 3  หน่วยกิต

ประวัติชีวิต ตั้งแต่วัยเด็ก จนถึงปัจจุบัน การต่อสู้ ความมุ่งมั่นฟันฝ่า ความใฝ่ฝัน ปณิธาน คติพจน์ / แนวคิดหลักประจำใจ  ความพยายามในการประกอบอาชีพ การเลี้ยงดูครอบครัว การดูแลชุมชนและสังคม ความสำเร็จของการทำงานเพื่อสังคม ยกตัวอย่างหรือเน้นที่งานที่โดดเด่นเป็นรูปธรรมที่สุด 1 งาน/กิจกรรม ควรจะจบบรรทัดสุดท้ายด้วยข้อคิดสำคัญ หรือการขนานนามที่ได้รับการเรียกขาน หรือความมุ่งมั่นฟันฝ่าไปในอนาคต และการนำเสนอ

การเรียนรู้ การอบรมสัมมนาและการศึกษาดูงานที่สำคัญ ทั้งในระบบและนอกระบบ สาระสำคัญของเรียนรู้ ข้อคิดสำคัญ และการนำความรู้มาใช้ในการปฏิบัติงาน หรือการถอดเป็นข้อคิดสำคัญในการดำเนินชีวิต  และการนำเสนอ

  • การพัฒนาคุณภาพชีวิต (BOU11102) 3  หน่วยกิต

การดูแลเอาใจใส่ชีวิตทั้งด้านสุขภาพร่างกาย สุขภาพจิตของตนเอง คนในครอบครัว และสังคม แนวปฏิบัติ หลักคำสอนของศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต การปฏิบัติตามหลักของศาสนาเพื่อการพัฒนาคุณภาพของชีวิต  และการนำเสนอ

  • การพัฒนาชุมชนและสังคม (BOU11103) 3  หน่วยกิต

ความเข้าใจต่อสถานการณ์ปัญหาของชุมชนและสังคม  การสร้างจิตสำนึกที่ดีงาม และการเป็นอาสาสมัครในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชนและสังคม หลักการของพลเมือง บทบาทของพลเมืองในการพัฒนาสังคม  และการนำเสนอ

  • จริยธรรมในการดำเนินชีวิต (BOU11104)                                 3  หน่วยกิต

ความหมายของจริยธรรม  จริยธรรมทางธุรกิจ ตัวอย่างของธุรกิจต่าง ๆ ที่มีการกำหนด ธรรมาภิบาล และการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  และการนำเสนอ

  • จิตอาสาและสำนึกพลเมือง (BOU11105) 3  หน่วยกิต

ความเข้าใจต่อสถานการณ์ปัญหาของชุมชนและสังคม  การสร้างจิตสำนึกที่ดีงาม และการเป็นอาสาสมัครในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชนและสังคม หลักการของพลเมือง บทบาทของพลเมืองในการพัฒนาสังคม การฝึกปฏิบัติและการนำเสนอ

  • การใช้ภาษาท้องถิ่น (BOU11106) 3  หน่วยกิต

หลักและฝึกทักษะการฟัง การอ่าน การคิด การเขียนและการพูดภาษาถิ่น ด้านการฟังและการอ่านจะเป็นการจับใจความสำคัญและการแสดงความคิดเห็น สำหรับการอ่านจะเน้นการอ่านออกเสียงด้วยด้านการเขียนจะเน้นการใช้ภาษา การเขียนย่อหน้า สำนวนโวหาร ภาพพจน์ ตลอดจนการเก็บและบันทึกข้อมูล ด้านการพูดจะเน้นการสนทนา การสัมภาษณ์ การเล่าเรื่อง การถ่ายทอดความรู้ ความคิดอย่างมีขั้นตอนและสมเหตุสมผล

  • การใช้ภาษาอังกฤษ 1 (BOU11107) 3  หน่วยกิต

ทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ในลักษณะที่ผสมผสานกันทั้ง ๔ ทักษะ โดยอาศัยการศึกษาโครงสร้างทางไวยากรณ์ของภาษาเป็นรากฐาน และเน้นหนักไปในด้านการอ่าน เพื่อช่วยให้สามารถใช้ภาษาทางด้านการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง

 

  • การใช้ภาษาอังกฤษ 2 (BOU11108) 3  หน่วยกิต

ทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ในลักษณะที่ผสมผสานกันทั้ง 4 ทักษะ ในระดับที่สูงขึ้น โดยอาศัยการศึกษาโครงสร้างทางไวยากรณ์ของภาษาเป็นรากฐาน และเน้นหนักไปในด้านการเขียน เพื่อช่วยให้สามารถใช้ภาษาทางด้านการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง

  • การใช้ภาษาอังกฤษ 3 (BOU11109) 3  หน่วยกิต

ทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ในลักษณะที่ผสมผสานกันทั้ง 4 ทักษะ ในระดับที่สูงขึ้น โดยอาศัยการศึกษาโครงสร้างทางไวยากรณ์ของภาษาเป็นรากฐาน และเน้นหนักไปในด้านการสนทนา เพื่อช่วยให้สามารถใช้ภาษาทางด้านการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง

  • การใช้คอมพิวเตอร์ (BOU11110) 3  หน่วยกิต

หลักการทำงานของระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อจัดเตรียมเอกสารและการนำเสนองานต่อบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในวิชาชีพการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศออนไลน์ และการจัดทำฐานข้อมูลในระดับบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในวิชาชีพ

    2)  กลุ่มวิชาพื้นฐาน                         21 หน่วยกิต

  • การศึกษาชุมชน (BOU11201)                                                 3  หน่วยกิต

แนวคิดการศึกษาชุมชน วิธีการศึกษาชุมชน องค์ประกอบของการศึกษาชุมชน การศึกษาประวัติศาสตร์และความเป็นมาชองชุมชน การเปลี่ยนแปลงและปัญหาของชุมชน การฝึกปฏิบัติ และการนำเสนอ

  • ภาวะผู้นำ (BOU1102) 3  หน่วยกิต

แนวคิดการเป็นผู้นำ ภาวะการเป็นผู้นำ การนำการเปลี่ยนแปลง  กรณีศึกษาผู้นำการเปลี่ยนแปลง การฝึกปฏิบัติ และการนำเสนอ

  • ข้อมูลและสารสนเทศชุมชน (BOU11203)                                 3  หน่วยกิต

ข้อมูลสำคัญของชุมชน การเก็บข้อมูล การจัดทำฐานข้อมูล  การฝึกปฏิบัติ และการนำเสนอ

  • วัฒนธรรมและประเพณีชุมชน (BOU11204) 3  หน่วยกิต

ขอบเขต ความหมายความสำคัญของวัฒนธรรมชุมชนและทุนทางสังคม โครงสร้างวัฒนธรรมชุมชน การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่น ลักษณะของทุนทางสังคม การใช้ทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น การนำเสนอ

 

 

 

  • ทุนทางสังคม (BOU11205)                                                    3  หน่วยกิต

ขอบเขต ความหมายความสำคัญของวัฒนธรรมชุมชนและทุนทางสังคม โครงสร้างวัฒนธรรมชุมชน การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่น ลักษณะของทุนทางสังคม การใช้ทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น การนำเสนอ

  • สวัสดิการสังคม (BOU11206) 3  หน่วยกิต

ศึกษาความหมายของสวัสดิการสังคม แนวคิด แนวปฏิบัติและรูปแบบของการดำเนินงาน และการจัดระบบสวัสดิการโดยอาศัยทุนของชุมชนซึ่งรวมถึงการจัดการ ทุนทางปัญญา เพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิตของชุมชน ซึ่งเกี่ยวโยงไปถึงระบบการออม การผลิตและการบริโภค   การนำเสนอ

  • แผนที่ชุมชน (BOU11207)                                                    3  หน่วยกิต

หลักการทำงานของแผนที่ชุมชน แนวคิดและวิธีการจัดทำแผนที่ชุมชน การวิเคราะห์แผนที่เพื่อการพัฒนา การนำเสนอแผนที่ชุมชน การฝึกปฏิบัติ และการนำเสนอ

 

    3)  กลุ่มวิชาเอก                    33 หน่วยกิต

  • สถานการณ์ปัจจุบันของโลก (BOU11301)                                 3  หน่วยกิต

สถานการณ์ของโลกในปัจจุบัน โดยเฉพาะสถานการณ์ในประเทศแถบอาเซียน การนำเสนอ

  • การประกอบการเพื่อความสังคม (BOU11302) 3  หน่วยกิต

แนวคิดและความหมายของการประกอบการของสังคม ตัวแบบทางธุรกิจของการประกอบการสังคม  ตัวอย่างการประกอบการสังคม  การฝึกปฏิบัติ และการนำเสนอ

  • การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสังคม (BOU11303) 3  หน่วยกิต

แนวคิดและความหมายของผลิตภัณฑ์เพื่อสังคม กระบวนการ ตัวอย่าง การฝึกปฏิบัติ และการนำเสนอ

  • สหกรณ์ (BOU11304)                     3  หน่วยกิต

ประวัติความเป็นมาของสหกรณ์ การดำเนินกิจกรรมของการเป็น  ผู้ประกอบการด้านกิจการสหกรณ์ ความสำเร็จจากการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค การสรุปและวิเคราะห์จากการศึกษา  การนำเสนอ

  • วิสาหกิจชุมชน (BOU11305)                                                  3  หน่วยกิต

ศึกษากรณีศึกษาของบุคคล กลุ่ม หรือองค์กร  ประวัติความเป็นมา แรงบันดาลใจ การดำเนินกิจกรรมของการเป็นผู้ประกอบการด้านวิสาหกิจชุมชน ความสำเร็จจากการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค การสรุปและวิเคราะห์จากการศึกษา   การนำเสนอ

  • การตลาดเพื่อสังคม (BOU11306) 3  หน่วยกิต

ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการตลาด  การตลาดเพื่อสังคม  กรณีศึกษาเกี่ยวกับการตลาดเพื่อสังคม  การฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการตลาดเพื่อสังคม   การนำเสนอ

  • นวัตกรรมเพื่อสังคม (BOU11307) 3  หน่วยกิต

ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับนวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์  นวัตกรรมเพื่อสังคม กรณีศึกษาเกี่ยวกับนวัตกรรมสังคม และการฝึกปฏิบัติ  และการนำเสนอ

  • ความรับผิดชอบต่อสังคม (BOU11308)                              3  หน่วยกิต

ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม Corporate Social  Responsibility – CSR การปฏิบัติงานรับผิดชอบต่อสังคม ความแตกต่างกับ Social Enterprise กรณีศึกษา และการฝึกปฏิบัติ  การนำเสนอ

  • การจัดการเชิงกลยุทธ์ (BOU11309)                     3  หน่วยกิต

ความหมายของการบริหารเชิงกลยุทธ์ และเปรียบเทียบกับการบริหารแบบต่างๆ  การคิดเชิงกลยุทธ์กับการคิดแบบอื่น ๆ กรณีศึกษา และการฝึกปฏิบัติ การนำเสนอ

  • การบัญชีผู้ประกอบการสังคม (BOU11310) 3  หน่วยกิต

ระบบบัญชีของผู้ประกอบการสังคม วิธีการ แนวทางปฏิบัติ กรณีศึกษา และการฝึกปฏิบัติการ

  • การปฏิบัติธรรม (BOU1131) 3  หน่วยกิต

ปฏิบัติสมาธิและการเจริญสติ

 

    4)  กลุ่มวิชาโท                     12 หน่วยกิต

  • การสร้างการมีส่วนร่วมในงานพัฒนา (BOU11401) 3  หน่วยกิต

แนวคิดของการมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมในการพัฒนา แนวคิดการพัฒนา  กรณีศึกษา และการฝึกปฏิบัติ  การนำเสนอ

  • การจัดการความรู้ (BOU11402)                                          3  หน่วยกิต

แนวคิดการจัดการความรู้ การจัดการความรู้ในการทำงาน กรณีศึกษา และการฝึกปฏิบัติการจัดการความรู้  การนำเสนอ

  • การจัดการปัญหาและความขัดแย้ง (BOU11403) 3  หน่วยกิต

ทฤษฎีใหม่ในการมองปัญหาและความขัดแย้ง  ความขัดแย้งที่สร้างสร้างสรรค์ การแก้ไขข้อขัดแย้ง กรณีศึกษาความขัดแย้ง และการฝึกปฏิบัติการแก้ไขความขัดแย้ง  การนำเสนอ

  • การผลิตสื่อเพื่อการนำเสนอ (BOU11404) 3  หน่วยกิต

ความหมายของสื่อ และความหมายของการนำเสนอ  แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารแบบผู้ใหญ่ การผลิตสื่อสมัยใหม่ กรณีศึกษาการนำเสนอ การฝึกทักษะการนำเสนอ

 

    5)  การฝึกปฏิบัติ                            27 หน่วยกิต    

  • การฝึกปฏิบัติ 1 (BOU11501)                                                 3 หน่วยกิต

การกำหนดหัวข้อ การเขียนความสำคัญของเรื่อง และการนำเสนอโครงงาน

  • การฝึกปฏิบัติ 2 (BOU11502)                                                         3 หน่วยกิต

การวิเคราะห์สถานการณ์และสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อการนำเสนอ

โครงการ การวิเคราะห์บริบทของโครงการ และการนำเสนอ การจัดทำแผนการปฏิบัติงาน

  • การฝึกปฏิบัติ 3 (BOU11503)                                                         6 หน่วยกิต

การปฏิบัติการตามแผนงาน 1  การเตรียมการเบื้องต้น การลงมือปฏิบัติการตามโครงการของนักศึกษาระยะแรก การศึกษากรณีศึกษาที่ใกล้เตียงกับงานของนักศึกษา  และการนำเสนอ

  • การฝึกปฏิบัติ 4 (BOU11504)                                                 6 หน่วยกิต

การปฏิบัติการตามแผนงาน 2 การฝึกปฏิบัติระยะที่สอง ต่อเนื่องจากระยะที่ 1  การติดตามผลการดำเนินงาน การวิเคราะห์ปัญหา และอุปสรรค การถอดความรู้สำคัญ

  • การฝึกปฏิบัติ 5 (BOU11505)                                                 3 หน่วยกิต

การถอดบทเรียนการทำงาน การวิเคราะห์ผลลัพธ์ และผลกระทบทั้งระยะสั้น ระยะยาว

  • การฝึกปฏิบัติการ 6 (BOU11506)                                            3 หน่วยกิต

การจัดทำเอกสารรายงาน การนำเสนอผลงาน ทั้งโดยสื่อและเอกสาร

 

——————————————————————-

Related Posts

Leave a Comment

Are you sure want to unlock this post?
Unlock left : 0
Are you sure want to cancel subscription?
-
00:00
00:00
Update Required Flash plugin
-
00:00
00:00