Home หลักสูตรการศึกษา หลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาทางสังคมศาสตร์

หลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาทางสังคมศาสตร์

by bodhisastra

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา               Bodhisastra University  Florida USA.

วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา          –

 1. ชื่อหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร (ภาษาอังกฤษ)   Doctor of Philosophy Program  in Social Science

 2. ชื่อปริญญาและสาขา

ชื่อเต็ม               (ภาษาอังกฤษ)    : Doctor of Philosophy in Social Science

ชื่อย่อ                (ภาษาอังกฤษ)   : Ph.D. (Social Science)

 3. สาขาวิชา

3.1 สาขาวิชา การเปลี่ยนแปลงสังคม (Social Change)

3.2 สาขาวิชา การประกอบการเพื่อสังคม  (Social Enterprise)

3.3 สาขาวิชา การพัฒนาสังคม  (Social Development)

3.4 สาขาวิชา การศึกษาเพื่อสังคม (Social Education)

3.5 สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์ (Public Administration)

3.6 สาขาวิชา การสื่อสารเพื่อสังคม  (Social Communication)

3.7 สาขาวิชา การบริหารธุรกิจ (Business Administration)

3.8 สาขาวิชา เศรษฐศาสตร์เพื่อสังคม (Social Economic)

3.9 สาขาวิชา การจัดการศึกษาตลอดชีวิต (Long-Life Education)

3.10 สาขาวิชา การจัดการงานบริบาลชุมชน Community Care)

3.11 สาขาวิชา สาธารณสุขชุมชน  (Public Health)

3.12 สาขาวิชา การแพทย์พื้นบ้านและการแทพย์องค์รวม  (Folk Medicine & Holistic Medicine)

3.13 สาขาวิชา กฎหมายและความยุติธรรมทางสังคม  (Law & Social Justice)

3.14 สาขาวิชา ภาษาอังกฤษ  (English)

3.15 สาขาวิชา สันติภาพศึกษา  (Peace Studies)

3.16 สาขาวิชา พุทธศาสน์ศึกษา (Buddhist Studies)

3.17 สาขาวิชา อิสลามศึกษา (Islamic Studies)

3.18 สาขาวิชา คริสต์ศึกษา (Christian Studies)

นักศึกษาจะเลือกการปฏิบัติการ ศึกษาวิจัย หรือการถอดความรู้ด้านใด  ให้ลงทะเบียนในสาขาวิชานั้น

4. จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 60   หน่วยกิต

5. ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

5.1 ปรัชญา และความสำคัญ

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาทางสังคมศาสตร์ มีเจตจำนงที่จะเสริมสร้างศักยภาพบุคคล ให้มีความสามารถทางวิชาการสูงสุดที่เป็นแบบอย่าง สามารถสังเคราะห์ และการถอดประสบการณ์ บทเรียน หรือองค์ความรู้จากการทำงานได้แม่นยำ ชัดเจน และเกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างกว้างขวาง โดยสามารถจะนำเสนอรูปแบบสำคัญของชุดประสบการณ์ของตนเอง

 

5.2 วัตถุประสงค์

5.2.1 พัฒนาบุคคลให้มีความสามารถสังเคราะห์งานของตนเอง เพื่อให้เกิดความรอบรู้ที่รอบด้าน และเกิดประโยชน์ต่อสังคมมากยิ่งขึ้น สามารถสร้างรูปแบบขององค์ความรู้ของตนเองได้

5.2.2 เพื่อให้สามารถอธิบายผลงานหรือความสำเร็จ อย่างเป็นระบบ  และเป็นบทเรียนสำคัญแก่ผู้อื่น

5.2.3 เพื่อให้สามารถลงปฏิบัติการ ในการทำวิจัยเชิงปฏิบัติเพื่อให้บังเกิดผลที่เป็นรูปธรรม

5.2.4 เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง และปฏิบัติการจริงในชุมชน เสริมสร้างทักษะและจิตวิญญาณในการทำงาน

 6. ระบบการจัดการศึกษา

6.1  ระบบการเรียน

6.1.1 ใช้ระยะเวลา  5 ปี หรือ 10 ภาคการศึกษาปกติ

6.1.2 ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษา     แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษา

6.2  การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค

1 หน่วยกิต เท่ากับ 1 ชั่วโมงบรรยายต่อสัปดาห์หรือ 15 ชั่วโมงต่อ 1 ภาคการศึกษา

 7. การดำเนินการหลักสูตร

7.1 วัน – เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน

          ช่วงเวลาการจัดการเรียนการสอนแต่ละภาค ดังนี้

                   ภาคการศึกษาที่ 1         เดือนกุมภาพันธ์ – มิถุนายน

                   ภาคการศึกษาที่ 2         เดือนกรกฏาคม – พฤศจิกายน

 

7.2  การเปิดโอกาสให้ผู้เข้าศึกษา

ทั้งแบบศึกษาปกติ  แบบศึกษาภาคพิเศษ  และการศึกษา ค้นคว้า การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self Learning)

7.3  คุณสมบัติทั่วไปของผู้เข้าศึกษา

สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท จากสถาบันการศึกษาทั่วไป  

 

7.4 รูปแบบการจัดการศึกษา

1) จัดการศึกษาแบบชั้นเรียน

2) จัดศึกษาทางไกลในระบบ BOU E- Learning  and BOUTV

3) การศึกษาวิจัย และการวิจักษณ์ Research Program and Realize Program 

4) การเรียนทางไกลผ่านวิดีโอ Online Learning by Facebook live, Line live, Youtube live

5) การศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง Self and  Independent Study

6) การศึกษากรณีเฉพาะ Project – Base Learning

 

7.5  การเทียบโอนหน่วยกิต

            การเทียบโอนผลการเรียนจากสถาบันอื่น  การเทียบโอนงานหรือการเทียบประสบการณ์ของผู้ศึกษานอกระบบการศึกษาหรือผู้ศึกษาตามอัธยาศัย หรือเป็นผู้ที่มีผลงานการประกอบการสังคม เป็นที่ประจักษ์ชัด สามารถเทียบโอนในแต่ละรายวิชาได้ โดยให้เรียนไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต และต้องเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย ไม่น้อยกว่า 1 ภาคเรียน 

 

8. หลักสูตร

8.1  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร  60   หน่วยกิต

8.2 โครงสร้างหลักสูตร

    1)  กลุ่มวิชาสัมมนา                                                                           12  หน่วยกิต

    2)  กลุ่มวิชาวิจัย                                                                              48  หน่วยกิต

                                รวมทั้งสิ้น                                                        60  หน่วยกิต   

8.3  รายวิชา       

    1)  กลุ่มวิชาสัมมนา                         12 หน่วยกิต

  1. Mindfulness in Practice (BOU31101)           3  หน่วยกิต
  2. Theories and Research (BOU31102)                                       3  หน่วยกิต
  3. Quantitative and Qualitative Research (BOU31102) 3  หน่วยกิต
  4. Social Enterprise (BOU31104)                                               3  หน่วยกิต

 

 

 

2) กลุ่มวิชาวิจัย              48 หน่วยกิต

  1. Dissertation 1 – Research Question and Conceptual (BOU31201) 6  หน่วยกิต
  2. Dissertation 2 – Data Collection (BOU31202)                            6  หน่วยกิต
  3. Dissertation 3 – Data Analysis (BOU31203)                                6  หน่วยกิต
  4. Dissertation 4 – Learning Process (BOU31204) 6  หน่วยกิต
  5. Dissertation 5 – Research Results (BOU31205) 6  หน่วยกิต
  6. Dissertation 6 – Conclusion Discussion and Synthesis (BOU31206) 6  หน่วยกิต
  7. Dissertation 7 – Recommendation (BOU321207) 6  หน่วยกิต
  8. Dissertation 8 – Oral Examination(BOU31208) 6  หน่วยกิต

 

หมายเหตุ  กลุ่มวิชาการวิจัย ให้เป็นไปตามสาขาที่นักศึกษาต้องการลงทะเบียนเรียน ต้องการเรียนสาขาวิชาใด ให้ทำการศึกษาค้นคว้าที่มีเนื้อหาตามสาขาวิชานั้น ๆ

การกำหนดรหัสรายวิชา มีความหมายดังนี้

    หมายเลขที่ 1 หมายถึง ระดับปริญญา เช่น 1=ปริญญาตรี, 2=ปริญญาโท, 3=ปริญญาเอก

    หมายเลขที่ 2 หมายถึง หลักสูตรที่

    หมายเลขที่ 3 หมายถึง กลุ่มวิชา

    หมายเลขที่ 4-5 หมายถึง ลำดับรายวิชาในกลุ่ม

 

9. กฎระเบียบหรือหลักเกณฑ์ในการให้ระดับคะแนน (เกรด)

9.1 ระบบค่าคะแนน แบ่งเป็น 8 ระดับ คือ

                      ระดับคะแนน              ค่าระดับคะแนน

                             A                           4.0

                             B+                         3.5

                             B                           3.0

                             C+                         2.5

                             C                           2.0

                             D+                         1.5

                             D                           1.0

                             F                           0

                   รายวิชาที่เทียบโอนให้ใช้รหัส  CP – Credit From Portfolio

 

9.2  ระบบไม่มีค่าระดับคะแนน ให้ใช้สัญลักษณ์ดังนี้

                      สัญลักษณ์                  ความหมายของผลการเรียน

S                           เป็นที่พอใจ (Satisfaction)

U                           ไม่เป็นที่พอใจ (Unsatisfaction)

I                            การวัดผลยังไม่สมบูรณ์ (Incomplete)

P                           การเรียนการสอนยังไม่สิ้นสุด (In Progress)

W                          การถอนรายวิชา (Withdrawn)

9.3 กระบวนการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา

9.3.1 ให้อาจารย์ผู้สอนแสดงตัวอย่างการประเมินผลนักศึกษาเพื่อการทวนสอบทุกรายวิชา

9.3.2 จัดตั้งกรรมการทวนสอบเพื่อสุ่มตรวจสอบการให้คะแนนในรายวิชาหรือรายงานของผู้เรียน

9.3.3 เปรียบเทียบการให้คะแนนข้อสอบแต่ละข้อ ในแต่ละรายวิชาตามเกณฑ์ที่กำหนดเพื่อให้ผู้สอนแต่ละคนมีมาตรฐานการให้คะแนนโดยเฉพาะรายวิชาที่มีผู้สอนมากกว่า 1 คน

9.3.4 จัดทำข้อสอบมาตรฐานสำหรับรายวิชาเดียวกันในกรณีที่มีผู้สอบหลายคน

9.3.5 สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับคำถามในแต่ละข้อสอบจากผู้ใช้บัณฑิตเพื่อปรับมาตรฐานข้อสอบ

9.4  เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร

9.4.1 เรียนและลงทะเบียนครบตามโครงสร้างที่หลักสูตรกำหนดภายในเวลาไม่เกิน 5 ปี

                9.4.2 ต้องได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๐๐

                9.4.3 ผ่านการฝึกปฏิบัติหรือฝึกประสบการณ์วิชาชีพตามที่กำหนดในหลักสูตร

 

  • ตัวอย่างการจัดแผนการศึกษา

10.1 การลงทะเบียนปกติ ตั้งแต่ปีที่ 1 ถึงปีสุดท้าย

 

ปีที่ 1  ภาคเรียนที่  1 

  1. Mindfulness in Practice (BOU31101) 3  หน่วยกิต
  2. Theories and Research (BOU31102)                                         3  หน่วยกิต
  3. Quantitative and Qualitative Research (BOU31103) 3  หน่วยกิต
  4. Social Enterprise (BOU31104)                                                3  หน่วยกิต
  5. Dissertation 1 – Research Question and Conceptual (BOU21201) 3  หน่วยกิต
  6. Dissertation 1 – Research Question and Conceptual (BOU31201) 6  หน่วยกิต

 

 

ปีที่ 1  ภาคเรียนที่  2 

  1. Dissertation 2 – Data Collection (BOU31202)                            6  หน่วยกิต
  2. Dissertation 3 – Data Analysis (BOU31203)                                6  หน่วยกิต
  3. Dissertation 4 – Learning Process (BOU31204) 6  หน่วยกิต
  4. Dissertation 5 – Research Results (BOU31205) 6  หน่วยกิต

 

ปีที่ 2  ภาคเรียนที่  1 

  1. Dissertation 6 – Conclusion Discussion and Synthesis (BOU31206) 6  หน่วยกิต
  2. Dissertation 7 – Recommendation (BOU321207)           6  หน่วยกิต
  3. Dissertation 8 – Oral Examination(BOU31208)           6  หน่วยกิต

 

10.2 การลงทะเบียนปกติ ในกลุ่มนักศึกษาเทียบโอน  

นักศึกษาเทียบโอน หมายถึงนักศึกษาที่มีประสบการณ์ ในการทำงาน และประสบความสำเร็จในชีวิตในสาขาที่นักศึกษาเลือกเข้ามาเรียน  มีผลงานเชิงประจักษ์ชัดเจน นักศึกษากลุ่มนี้ สามารถเทียบโอน โดยให้ใช้เวลาไม่น้อยกว่า 1 ภาคเรียน ในรายวิชาที่เทียบโอนนั้น ให้เขียนประสบการณ์ ความประสบการณ์ หรือองค์ความรู้ที่นักศึกษา ไม่น้อยกว่า 1 หน้ากระดาษ โดยมีคณะกรรมการที่มหาวิทยาลัยหรือสถาบันสมทบแต่งตั้งทำหน้าที่ประเมิน

 

สำหรับการใช้เวลา 1 ภาคเรียน ที่จะเรียน ให้เรียนวิชาในกลุ่มปฏิบัติ จำนวน 24 หน่วยกิต  คือ 

  1. Mindfulness in Practice (BOU31101) 3 หน่วยกิต (ลงทะเบียนเรียนโดยไม่นับหน่วยกิต)
  2. Dissertation 5 – Research Results (BOU31205)                    6  หน่วยกิต
  3. Dissertation 6 – Conclusion Discussion and Synthesis (BOU31206)      6  หน่วยกิต
  4. Dissertation 7 – Recommendation (BOU321207)                    6  หน่วยกิต
  5. Dissertation 8 – Oral Examination(BOU31208)                    6  หน่วยกิต

 11. คำอธิบายรายวิชา

    1)  กลุ่มวิชาสัมมนา                         12 หน่วยกิต

  1. Mindfulness in Practice (BOU31101)                                        3  หน่วยกิต

การภาวนา โดยการเจริญสติ และการปฏิบัติสมาธิ การเจริญสติในอิริยาบถ ทั้งการยืน การเดิน การนั่ง การใช้สติในชีวิตประจำวัน การใคร่ครวญในความก้าวหน้าของสติ

 

 

  1. Theories and Research (BOU31102)                                           3  หน่วยกิต

การเรียนรู้แนวคิดทฤษฎีและการวิจัยแบบต่าง ๆ รวมทั้งทฤษฎีการวิจักษณ์ ซึ่งเป็นแนวคิดหลักของมหาวิทยาลัยโพธิศาสตร์

  1. Quantitative, Qualitative Research (BOU31102)                   3  หน่วยกิต

การศึกษาวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ความแตกต่างกัน และแนวทางการศึกษาเชิงคุณภาพของมหาวิทยาลัยโพธิศาสตร์

  1. Social Enterprise (BOU31104)                                                   3  หน่วยกิต

การพัฒนาชุมชนและสังคมในปัจจุบัน แนวความคิดเรื่องการประกอบการสังคม หรือธุรกิจเพื่อสังคม ทั้งในประเทศและต่างประเทศ  ตัวอย่างการประกอบการสังคมในสังคมไทย

2) กลุ่มวิชาวิจัย              48 หน่วยกิต

  1. Dissertation 1 – Research Question and Conceptual (BOU31201) 6  หน่วยกิต

การนำเสนอหัวข้อที่จะศึกษา นำเสนอความสำคัญของหัวข้อที่ศึกษา การตั้งคำถามสำคัญที่ใช้เป็นแนวทางการศึกษา แนวความคิดสำคัญของเรื่องที่จะศึกษา  การสัมมนา และอภิปราย การเขียนรายงาน

  1. Dissertation 2 – Data Collection (BOU31202)                               6  หน่วยกิต

การนำเสนอแนวทางการเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล การสัมมนา และอภิปราย การเขียนผลการรวบรวมข้อมูล

  1. Dissertation 3 – Data Analysis (BOU31203)                                  6  หน่วยกิต

การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้ว การสัมมนา และอภิปราย การเขียนผลการวิเคราะห์ข้อมูล

  1. Dissertation 4 – Learning Process (BOU31204)                     6  หน่วยกิต

การสังเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษา  การสัมมนา และอภิปราย การเขียนผลการสังเคราะห์ความรู้

  1. Dissertation 5 – Research Results (BOU31205)                     6  หน่วยกิต

การสังเคราะห์ผลการศึกษา การพัฒนาตัวแบบขององค์ความรู้ตามหัวข้อที่ศึกษา การสัมมนา และอภิปราย การเขียนรูปแบบของการศึกษาตามหัวข้อที่ศึกษา

  1. Dissertation 6 – Conclusion Discussion and Synthesis (BOU31206)    6  หน่วยกิต

การสังเคราะห์ข้อมูล การสรุปข้อมูลทั้งหมด การสัมมนา และอภิปราย การเขียนรายงาน

 

  1. Dissertation 7 – Recommendation (BOU321207)           6  หน่วยกิต

การนำเสนอรายงานการศึกษากับเวทีวิชาการ และอภิปราย การเขียนรายงานจากการให้ความเห็นของเวทีวิชาการ

  1. Dissertation 8 – Oral Examination(BOU31208)                     6  หน่วยกิต

การนำเสนอผลงานดุษฎีนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์จากคณะกรรมการสอบประเมินผลงาน และการนำส่งผลงานฉบับสมบูรณ์

 

Related Posts

Leave a Comment

Are you sure want to unlock this post?
Unlock left : 0
Are you sure want to cancel subscription?
-
00:00
00:00
Update Required Flash plugin
-
00:00
00:00