วิธีวิทยาว่าด้วยวิจักษณ์

วิธีวิทยาว่าด้วยวิจักษณ์  : ปรัชญาการศึกษาตามแนวแห่งมหาวิทยาลัยโพธิศาสตร์


Not Research  But Realize  : ไม่ใช่การวิจัย แต่มันคือ การวิจักษณ์   มหาวิทยาลัยทั่วไป เน้นที่การวิจัย คือการสอนให้ น.ศ.ไปค้นคว้า มหาวิทยาลัยโพธิศาสตร์ ไม่ได้เรียนแบบ “วิจัย” แต่เป็นเรียนแบบ “วิจักษณ์”

ในระดับปริญญาเอก การวิจักษณ์  หัวข้อดุษฎีนิพนธ์ ต้องขึ้นต้นด้วยคำว่า รูปแบบ  แล้วรูปแบบคืออะไร ก็คือองค์ประกอบสำคัญ   องค์ประกอบสำคัญ (element) คือ สิ่งต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบเป็นสิ่งใหญ่, ส่วนของสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องประกอบทำให้เกิดเป็นรูปขึ้นใหม่โดยเฉพาะ

การนิยาม

วิจัย การหาค้นหาความจริง โดยการเรียนรู้จากคนอื่น เช่น จากการสอบถาม จากการสัมภาษณ์ การศึกษาจากกรณีศึกษา เป็นต้น เมื่อได้ความรู้แล้ว ก็ถือว่าสิ้นสุด ยุติ รับปริญญาได้


วิจักษณ์ การรู้แจ้ง ความชัดแจ้ง การตกผลึก น่าจะหมายความว่า การนำความคิด ความรู้ จากการไปศึกษาจากคนอื่นแล้ว  ไปลงมือปฏิบัติจนเห็นผล ได้ผลชัดเจน ได้รับรู้รสแห่งการรู้จริงนั้น เปรียบเสมือนว่า เรียนรู้จักสูตรอาหารโดยละเอียด แต่ยังไม่ทดลองปรุงอาหาร และรับประทานด้วยตนเอง  ย่อมไม่รู้จักรสชาตแท้


ปัญหาอาจจะมีว่า ถ้าเป็นกลุ่มบัวพ้นน้ำมาเรียน ไม่น่ามีปัญหา คงสามารถถอดความรู้มาได้ แต่ถ้าเด็กใหม่ เรียนมาตามขั้นตอนแบบไม่เคยทำงาน ไม่มีประสบการณ์  เรายอมได้แค่ไหนเพื่อการวิจักษณ์ หรือเราจะยอมกลับไปตามกระแสการวิจัย ที่ทำกันทุกมหาวิทยาลัย  แบบสองมาตรฐาน แต่ถ้าเราจะเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการลงมือทำ ไม่ใช่แค่ความจำและทำข้อสอบ เราจำเป็นต้องหาโมเดลแห่งการจักษณ์ที่สามารถรับกันได้ในกลุ่มเริ่มต้น  และทั้งเป็นการยืนยันในปรัชญาของเรา อย่างแน่วแน่  (ศักดิ์ ประสานดี)


เมื่อ นศ.BOU ยังไม่วิจักษณ์  จะทำอย่างไรดี

เราพยายามเน้นว่า การเข้าสอบกับ BOU ต้องเป็นการวิจักษณ์ คือเสนอองค์ความรู้จากการตกผลึกแล้ว แต่ปัญหาคือ นศ.เราจำนวนหนึ่ง ยังไม่วิจักษณ์ในงาน (รู้อย่างแจ่มแจ้ง จากประสบการณ์ที่ทำมาอย่างยาวนาน – นิโรธะ จากมรรควิธี) ประสบการณ์น้อย ไม่เพียงพอ พอเขียนเสนอ ค่อนข้างไม่ลึกซึ้ง มักหยาบเกิน กรณีอ่อนประสบการณ์แบบนี้ ผมจึงเสนอให้ไปใช้การ “วิจัย” ในการเข้ามาสอบจาก BOU แต่ต้องวิจัยเชิงคุณภาพ และไปศึกษาคนที่มีผลงานวิจักษณ์แล้ว ไม่น้อย 5 กรณีศึกษา ก่อนจะสรุปรวบยอดเป็นคำตอบ ทั้งในระดับ ปริญญา ตรี โท เอกเพื่อยืนยันการไปลงพื้นที่ศึกษาจริง จึงควรต้องมีภาพการลงพื้นที่ ภาพของนักศึกษาระหว่างสัมภาษณ์พูดคุยด้วย

หลากหลายความคิดเห็น

วิจัยก่อนวิจักษณ์ หรือวัจัยแทนวิจักษณ์ เป็นทางออกที่ดีอย่างหนึ่ง เมื่อบารมียังไม่แก่กล้า ยังไม่มีประสบการณ์ตรง ก็ไปเรียนรู้จากความสำเร็จหรือประสบการณ์ของคนอื่นก่อน เท่าที่ผมมาคิดดู บางสาขาวิชา เช่น ภาษาศาสตร์ ของผมเอง แทบเป็นไปไม่ได้ที่จะบอกเล่าเชิงวิจักษณ์ในความสำเร็จของตัวเอง อย่างมากที่พอทำได้คือไปวิจัยความสำเร็จและผลงานของนักภาษาศาสตร์คนอื่นที่ถึงจุดสุดยอดของอาชีพ เช่นเป็นนักภาษาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงระดับประเทศหรือระดับโลก อย่างน้อยสุดมีผลงานนวัตกรรมเป็นที่ยอมรับในแวดวงนักวิชาการ หรือเป็นศาสตราจารย์แล้ว สาขาวิชาอื่นๆก็อาจมีลักษณะคล้ายกันในประเด็นนี้ อันนี้เป็นมุมมองส่วนตัวนะครับ อาจแตกต่างหรือตรงข้ามกับบางท่าน ที่ทำงานในบริบทที่แตกต่างกันมา แค่หนึ่งความคิดเห็นที่อยากมีส่วนร่วมครับ (รศ.ดร.ธีรวิทย์  ภิญโญณัฐกานต์)

การวิจัยเชิงคุณภาพ มีวิธีการและขั้นตอนค่อนข้างแตกต่างจากการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้จะทำวิจัยต้องศึกษา ทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถูกต้อง ก่อนลงมือเก็บข้อมูลทำวิจัย ต้องมีโครงร่างวิจัย ระบุระเบียบวิธี ขั้นตอนการทำวิจัยชัดเจน หากมีการอบรมการทำวิจัยก่อน จะดีมาก ตลอดเส้นทางการทำวิจัย ต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษาหรือโค้ชคอยช่วยเหลือให้คำแนะนำด้วย จะได้เข้าถูกช่องทางตั้งแต่ต้น รอจนถึงวันสอบปากเปล่าก็สายเกินไปแล้ว (รศ.ดร.ธีรวิทย์  ภิญโญณัฐกานต์)

ถ้าจุดยืนของ BOU อยู่ที่การเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการจัดการความรู้ BOU ก็ต้องสร้างเครื่องมือขึ้นมาจัดการความรู้ ซึ่งตามทฤฎีที่ว่าด้วยความรู้ แบ่งความรู้ออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)มี 20%
  2. ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) มี 80% เรา BOU จะต้องหาเครื่องมือมาจัดการความรู้ 80% นี้ให้ได้

ในเบื้องต้นนี้คิดได้ว่า ควรเป็น กระบวนการจัดการความรู้ 5 ขั้นตอน คือ

  1. ทบทวนความรู้
  2. เรียบเรียงความรู้
  3. วิธีการใช้ความรู้
  4. ผลจากการใช้ความรู้
  5. การถ่ายทอดความรู้ ในแต่ละขั้นตอนจะใช้เวลามากน้อยขึ้นอยู่กับนักศึกษาแต่ละคน (ต้องไม่เท่ากัน ไม่เหมือนกัน)  (ผศ.ดร.กนกศักดิ์  ลิขิตไพรวัลย์)

Related posts

รูปแบบหรือตัวแบบแห่งการวิจักษณ์

แบบฟอร์มการเขียนดุษฎีนิพนธ์ปริญญาเอก

แนวทางการประเมินผลการนำเสนอดุษฎีนิพนธ์